คำถามที่พบบ่อย

คำถาม : "การใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบ E-TAX "วันที่ 26 มกราคม 2566

คำถาม : “วิธีปฏิบัติหลังได้รับการส่งเสริมการลงทุนและขั้นตอนการเปิดดำเนินการ” วันที่ 25 มกราคม 2566

คำถาม : การยกเลิกบัตรส่งเสริม

คำตอบ :

ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถขอยกเลิกบัตรส่งเสริมในเวลาใดก็ได้ โดยหลักประกัน การคุ้มครอง และสิทธิประโยชน์ทั้งหมดจะสิ้นสุดลงในวันที่ได้รับอนุมัติให้ยกเลิกบัตรส่งเสริม

กรณีที่ได้รับส่งเสริมนำเครื่องจักรและวัตถุดิบเข้ามาโดยการยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า แต่ต่อมาได้รับอนุมัติให้เลิกบัตรส่งเสริม เครื่องจักรและวัตถุดิบบางส่วนหรือทั้งหมดอาจมีภาระภาษีที่จะต้องชำระคืน พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ (ถ้ามี)

 

กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมเป็นนิติบุคคลต่างด้าว และใช้สิทธิและประโยชน์ในการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องจำหน่ายที่ดินดังกล่าวภายใน ปีนับจากวันที่ได้รับอนุมัติให้ยกเลิกบัตรส่งเสริม

คำถาม : การเพิกถอนบัตรส่งเสริม

คำตอบ :

กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญในการให้การส่งเสริมได้ เช่น มีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนต่ำกว่า ล้านบาท หรือมีกรรมวิธีการผลิตไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม และทำให้มูลค่าเพิ่มของโครงการต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ได้รับส่งเสริมจะถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม

ในกรณีที่ถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม ผู้ได้รับส่งเสริมอาจถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดเสมือนว่าไม่เคยได้รับส่งเสริมมาตั้งแต่ต้น ซึ่งจะต้องทำให้เสียภาษีอากรเครื่องจักรและวัตถุดิบย้อนหลังตามสภาพ ณ วันนำเข้า พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ ซึ่งรวมถึงการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังอีกด้วย

คำถาม : บุคคลธรรมดาสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่

คำตอบ : ผู้ที่จะได้รับการส่งเสริม จะต้องเป็นบริษัท สหกรณ์ หรือมูลนิธิที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น  ทั้งนี้หากยังไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท สามารถยื่นคำขอรับการส่งเสริมในนามบุคคลก่อนก็ได้ แล้วจึงจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหลังจากได้รับหนังสือแจ้งมติให้การส่งเสริมการลงทุน และจดทะเบียนบริษัทให้เรียบร้อยภายใน 6 เดือนก่อนยื่นขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุน

คำถาม : มาตรฐาน ISO หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า

คำตอบ :

การดำเนินการตามมาตรฐาน ISO หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่

กิจการสิ่งพิมพ์ ให้ใช้มาตรฐาน OHSAS 18001 และ FSSC 22000 เทียบเท่ามาตรฐาน ISO 9000 และ 14000 ได้

คำถาม : ประเภทธุรกิจตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 มีรายละเอียดอย่างไร

คำตอบ :

คำว่า “คนต่างด้าว” มีความหมายครอบคลุม

ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 บุคคลต่อไปนี้ถือว่าเป็นคนต่างด้าว

(1) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

(2) นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย

(3) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของบุคคลหรือนิติบุคคลตาม (1) หรือ (2)

(4) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของ (1) (2) หรือ (3)

ประเภทธุรกิจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542

ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจ  บางประเภทและบางประเภทจะประกอบธุรกิจได้ ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาต หรือได้รับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แล้วแต่กรณี ประกอบด้วยบัญชีรายชื่อธุรกิจ บัญชี ดังนี้

(1) บัญชีหนึ่ง

เป็นธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ ได้แก่

(1) การทำกิจการหนังสือพิมพ์ การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์

(2) การทำนา ทำไร่ หรือทำสวน

(3) การเลี้ยงสัตว์

(4) การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ

(5) การทำการประมงเฉพาะการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทย และในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย

(6) การสกัดสมุนไพรไทย

(7) การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ

(8) การทำหรือหล่อพระพุทธรูป และการทำบาตร

(9) การค้าที่ดิน 

(2) บัญชีสอง

เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัย หรือความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย หมวด ดังนี้

หมวด 1 ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ

(1) การผลิต การจำหน่าย และการซ่อมบำรุง

(อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ดินปืน วัตถุระเบิด

(ส่วนประกอบของอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด

(อาวุธยุทโธปกรณ์ เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะทางการทหาร

(อุปกรณ์หรือส่วนประกอบของอุปกรณ์สงครามทุกประเภท

(2) การขนส่งทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศในประเทศ รวมถึงกิจการการบินในประเทศ

หมวด 2 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน

(1) การค้าของเก่า หรือศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรมของไทย

(2) การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก

(3) การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมไทย การทอผ้าไหมไทย หรือการพิมพ์ลวดลายผ้าไหมไทย

(4) การผลิตเครื่องดนตรีไทย

(5) การผลิตเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม เครื่องทองลงหิน หรือเครื่องเขิน

(6) การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย

หมวด 3 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม

(1) การผลิตน้ำตาลจากอ้อย

(2) การทำนาเกลือ รวมทั้ง การทำเกลือสินเธาว์

(3) การทำเกลือหิน

(4) การทำเหมือง รวมทั้ง การระเบิด หรือย่อยหิน

(5) การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย

(3) บัญชีสาม

ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดี โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการ

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

(1) การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่

(2) การทำการประมง (เฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์นำ้)

(3) การทำป่าไม้จากป่าปลูก&

คำถาม : การขยายเวลาเปิดดำเนินการ

คำตอบ :

กรณีได้รับอนุมัติขยายเวลาเปิดดำเนินการ เอกสารที่ใช้ยื่นแก้ไขบัตรส่งเสริม มีดังนี้

                   1. สำเนาหนังสืออนุมัติขยายเวลาเปิดดำเนินการ

                   2. บัตรส่งเสริม (ฉบับจริง)

ยื่นเอกสารได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สำนักงานใหญ่) กลุ่มบัตรส่งเสริม ชั้น 3

คำถาม : สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรมีอะไรบ้าง

คำตอบ :

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนปีพ.ศ. 2520 ได้แก่

- อนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาเพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุน (มาตรา 24)

- อนุญาตให้นำช่างฝีมือและผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 25 และ 26)

- อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน (มาตรา 27)

- อนุญาตให้ส่งออกซึ่งเงินตราต่างประเทศ (มาตรา 37)

การได้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับประเภทกิจการและเงื่อนไขของโครงการที่ได้รับการส่งเสริม

คำถาม : มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตคืออะไร และได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

คำตอบ :

มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

มาตรการนี้เป็นมาตรการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศที่ 9/2560 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2560 คือ มาตรการการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน เรื่อง ดังนี้

การลงทุนด้านการประหยัดพลังงาน การลงทุนเพื่อใช้พลังงานทดแทน หรือการลงทุนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การลงทุนเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา หรือออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ

การลงทุนเพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่มาตรฐานระดับสากล

บริษัทมีความสนใจในมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต จะได้รับสิทธิ์และประโยชน์ดังนี้

จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร

จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี จำนวน 50 % ของเงินที่ลงทุนเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพดังกล่าว (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุงติดตั้ง)

ระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (ปี) นับจากวันที่มีรายได้หลังได้รับบัตรส่งเสริม และไม่เกินมูลค่า 50 % ของเงินที่ลงทุน แล้วแต่ว่าอย่างใดจะครบกำหนดก่อน

ทั้งนี้ กรณีการลงทุนเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี มูลค่า 100 ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุงติดตั้ง) กรณีที่การปรับปรุงดังกล่าว มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรอัตโนมัติในประเทศ ไม่น้อยกว่า 30 % ของเครื่องจักรที่ติดตั้งเพิ่ม

เงื่อนไขของผู้ที่สามารถขอส่งเสริมการลงทุน ภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

ผู้ขอส่งเสริมหากไม่เคยขอรับส่งเสริมการลงทุนมาก่อน สามารถนำกิจการที่ดำเนินการอยู่ปัจจุบันมาขอรับส่งเสริมการลงทุนได้ โดยธุรกิจนั้นต้องเป็นกิจการที่สำนักงานให้ส่งเสริมการลงทุน ตามบัญชีประเภทกิจการที่ส่งเสริมการลงทุน

สำหรับกิจการเคยที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว สามารถยื่นขอรับสิทธิ์นี้ได้เมื่อระยะเวลาการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นสิ้นสุดลง (สิ้นสุดมาตรา 31 แล้ว) หรือเป็นโครงการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (ยกเว้นบางกิจการตามนโยบายเฉพาะที่สำนักงานกำหนด)

มีการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)

สำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม จะต้องที่มีสินทรัพย์ถาวรสุทธิ หรือ ขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 50 % กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 500,000 บาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)

คำถาม : กลุ่มกิจการที่ได้รับการส่งเสริมประเภท กิจการกลุ่ม B ได้สิทธิประโยชน์เฉพาะสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษีเท่านั้นใช่หรือไม่

คำตอบ :

ไม่ใช่ กิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ในกลุ่ม B สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบเพื่อผลิตเพื่อการส่งออก หรือบางกิจการจะได้รับสิทธิ์เฉพาะการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตเพื่อการส่งออกเท่านั้น

สำหรับกิจการในกลุ่ม ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเป็นกิจการที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ป.10/60 ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ให้สิทธิประโยชน์กับประเภทกิจการกลุ่ม (ยกเว้น ประเภทกิจการตามข้อ 2 ของประกาศ สกท.ที่ ป.4/2560 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560) ที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ดังนี้

1. กรณีมีการใช้เครื่องจักรที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าเครื่องจักรเฉพาะส่วนที่เป็นการลงทุนนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตหรือการบริการ ให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 100 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียนเป็นระยะเวลา 3 ปี

2. กรณีมีการใช้เครื่องจักรที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศน้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าเครื่องจักรเฉพาะส่วนที่เป็นการลงทุนนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตหรือการบริการ ให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียนเป็นระยะเวลา 3 ปี

ตามประกาศ สกท ที่ ป 4/2560 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560 กำหนดประเภทกิจการที่ไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ได้แก่

ประเภท 4.6  กิจการผลิตรถยนต์ทั่วไป

ประเภท 4.12 กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ (ยกเว้นที่มีความจุกระบอกสูบต่ำกว่า 248 ซีซี)

ประเภท 4.16 กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (Hybrid Electric Vehicles – HEV) และชิ้นส่วน

ประเภท 5.8   กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ประเภท 7.2   กิจการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ

ประเภท 7.5   กิจการสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (International Headquarters : IHQ)

ประเภท 7.6   กิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (international Trading Centers : ITC)

ประเภท 7.7   กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Support Office : TISO)

คำถาม : การยื่นใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบ E-TAX

คำถาม : การใช้สิทธิประโยชน์ด้านช่างฝีมือ ม.24 และ ม.25

คำถาม : แนวทางการกรอกคำขอกิจการด้านดิจิทัล+คำถามที่พบบ่อย+ตัวอย่างคำขอ

คำถาม : FAQ 108 คำถามกับงานส่งเสริมการลงทุน

คำตอบ : เว็บไซต์ BOI    ในส่วนของ    http://faq108.co.th/
เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลงานส่งเสริมการลงทุนและสิทธิประโยชน์ เพื่อให้ผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุนได้ใช้เป็นความรู้เบื้องต้นในการติดต่องาน BOI
*** กรณีที่ต้องการข้อมูลที่เป็นทางการ กรุณาติดต่อสอบถามจาก BOI ได้โดยตรง